สาเหตุการเกิด อาการคอโต หรือคอพอก

อาหารคอโต หรือคอพอก เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาของ ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นมากกว่าปกติ จนทำให้บริเวณลำคอ โดยเฉพาะคอหอยมีอาการที่บวมจนเห็นได้ชัด ซึ่งผู้ป่วนส่วนใหญ่มักจะมีอาการบวมเพียงเล็กน้อย และไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ ขึ้นตรงบริเวณอื่น แต่จะมีบางรายที่มีอาการที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีอาการข้างเคียงร่วมด้วยดังต่อไปนี้

  • ไอ รู้สึกแน่นภายในลำคอ
  • เสียงจะเปลี่ยนไป จากปกติ และจะมีอาหารเสียงแหบปะปนเข้ามา
  • กลืนอาหารได้ลำบาก
  • .4.หายใจลำบาก เวลาที่หายใจมักจะมีเสียงดังหวีดออกมา

สาเหตุ และสิ่งกระตุ้น ที่อาจจะทำให้เกิดอาการคอโต หรือคอพอก

สำหรับสาเหตุที่จะเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดอาการคอพองขึ้นมา ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยที่มีทั้งจากปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องของสุขภาพ หรือปัจจัยที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ชีวิต โดยที่ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคคอโต หรือคอพอก นั่นก็คือ

  • ร่างากายขาดไอโอดีน
  • เป็นโรคไทรอยด์มาก่อน
  • ภาวะที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์
  • มีอาการอักเสบ อย่างต่อเนื่อง

โรคคอโต หรือคอพอก หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะมีอาการแทรกซซ้อนตามมาได้

สำหรับโรคคอโต หรือคอพอกนั้น เป็นหนึ่งในโรคที่ในแต่ละปี มีจำนวนประชากรที่เป็นโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่หลายคนก็อาจจะไม่รู้วิธีการดูแล และรักษาที่ถูกต้อง โดยที่ก็มีหลายคนที่มักจะปล่อยเลยตามเลย แต่จริงๆ แล้วโรคคอโต หรือคอพอก นั้น ถ้าหากปล่อยเอาไว้นานๆ โดยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี อาจจะเป็นสาเหตุให้มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ดังต่อไปนี้

1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือก

  • หายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อย ใจหวิว
  • เป็นภาวะที่หัวใจอ่อนแอ
  • แน่นหน้าอก ระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน
  • ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นๆ ภายในร่างกาย
  • มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด อาเจียน
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

2.กระดูกพรุน

  • ความแข็งแรงของกระดูกลดลง
  • เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
  • สูญเสียแคลเซียมที่สะสมอยู่ภายในกระดูก
  • กระดูกเริ่มเสื่อม และบางลง

3.มะเร็งไทรอยด์

  • ความผิดปกติของเซลล์ที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายในต่อมไทรอยด์
  • พบมีก้อนเดียว หรือหลายก้อน

สำหรับวิธีการรักษาโรคคอโต หรือคอพอก จะขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมไทรอยด์ ว่ามีขนาดโตขึ้นมากน้อยขนาดไหน อาการที่เกิดขึ้น และความรุนแรงของโรค โดยที่แต่ละคนก็จะมีภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกันออกไป โดยที่แพทย์จะทำการนัดติดตามดูอาการเป็นระยะ แต่ในกรณีสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หมอก็จะรักษาโดยการทานยาควบคู่ไปกับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ บางรายอาจจะจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยที่โรคคอโต หรือคอพอก สามารถรักษาให้หายขาดได้นั่นเอง