ลูกกินยายาก ทำอย่างไรดี

ทุกครั้งเมื่อลูกน้อยมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย การกินยาเป็นวิธีการรักษา และดูแลเบื้องต้น เพื่อที่จะทำให้อาการดีขึ้น แล้วถ้าหากลูกเป็นเด็กที่กินยายากล่ะ คงจะเป็นปัญหาของเหล่าคุณพ่อ คุณแม่ ที่ต้องหาวิธีแก้ไขอย่างแน่นอน แต่วันนี้ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะวันนี้เราจะมีวิธีป้อนยาดีๆ สำหรับเด็กที่กินยายาก หรือไม่ชอบกินยา โดยที่จะมีเทคนิคดีๆ สำหรับแต่ละช่วงอายุ จะมีวิธีดังต่อไปนี้

วิธีป้อนยาเด็กแรกเกิด – 1 เดือน

สำหรับเด็กบ้านไหน ที่เป็นเด็กที่กินยาง่ายอยู่แล้ว ให้ลองใช้หลอดดูดยาดรอปเปอร์ หรือไซริงค์ หลอดฉีดยาที่ไม่มีเข็ม จะทำให้เด็กมีความคุ้นเคยในการกินยาดีขึ้นได้ แต่ในส่วนของเด็กที่ทานยายากนั้น คุณแม่อาจจะต้องใช้หลอดดูดยาใส่ในจุกนมทีละน้อย และค่อยๆ ดูดยาจากจุกนมแทน วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ให้เด็กใช้พฤติกรรมจากความเคยชิน จะทำให้เด็กมีความคุ้นเคยกับรสชาติของยาเพิ่มมากขึ้น

วิธีป้อนยาเด็กที่มีอายุ 1 – 12 เดือน

สำหรับเด็กในวัยนี้จะกินยาน้ำเป็นหลัก โดยที่คุณแม่สามารถใช้ไซริงค์แทนการใช้ดรอปเปอร์ เพื่อที่จะทำให้ได้ปริมาณยาที่เพิ่มขึ้นได้ โดยที่คุณแม่ควรจับหัวลูกนอนหงาย ยกศีรษะขึ้น วิธีนี้ถ้าหากมีคุณพ่อคอยช่วยก็จะง่ายขึ้น โดยให้คุณพ่อชวนคุย ชวนเล็กอย่างใจเย็น จากนั้นให้คุณแม่ค่อยๆ ฉีดยาเข้าไปกระพุ้งแก้มทีละน้อยๆ โดยที่ยา 1 หลอด อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาทีกันเลยทีเดียว เพื่อที่จะเบี่ยงเบนความสนใจใของลูก แต่ในกรณีที่ลูกของคุณนั้นดิ้น และไม่ยอมที่จะกายา ให้คุณพ่อช่วยจับมือ และขา เพราะในระหว่างที่กำลังป้อนยา ก็ได้ไม่ทำให้ยาหกนั่นเอง

วิธีป้อนยาเด็กที่มีอายุ 1 – 6 ปี

ถ้าหากลูกบ้านไหน ที่ยังกินยาประเภทยาน้ำอยู่ ให้คุณแม่ลองใช้วิธีการป้อนยาเหมือนเด็กที่มีอายุ 1 – 12 เดือนดู แต่ถ้าหากลูกของคุณอยู่ในช่วงที่กำลังฝึกกินยาเม็ด แต่ติดปัญหาตรงเวลากลืน ที่ยังอาจจะกลืนไม่คล่อง กลืนไม่เป็น อาจจะเลือกใช้เป็นยาปฏิชีวนะ ที่เป็นแคปซูล เพื่อที่จะสามารถนำเอาผงด้านใน ไปผสมกับน้ำหวานเข้มๆ จากนั้นให้ใช้ไซริงค์ป้อนยาลูกแทน แต่ถ้าหากจำเป็นต้องทานยาเม็ดจริงๆ ให้หักยาเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อนป้อนทีละน้อยๆ ลูกค้าจะสามารถทานยาได้ดีขึ้นตามลำดับ

ไม่ว่าจะเป็นเด็กในวัยไหน สิ่งที่ไม่ควรทำมากที่สุดก็คือผสมยาลงไปในชวดนม เพราะการทำเช่นนั้น อาจจะทำให้ลูกได้รับปริมาณยาที่คลาดเคลื่อน และการนำเอาไปผสมนมที่เป็นแคลเซียม จะทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ โดยที่ในบางครั้งยาที่ผสมลงไปอาจจะทำให้นมมีรสชาติที่ผิดเพี้ยน ที่อาจจะส่งผลให้ลูกค้าคุณกินนมยากในเวลาต่อมา ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่หนักกว่าการไม่กินยาอีกอย่างแน่นอน